วันจันทร์ที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

สพฐ. ย่อมาจากอะไร

สพฐ. ย่อมาจาก "สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน" มีหน้าที่พัฒนาและส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาพื้นฐานให้ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับการศึกษาอย่างมีคุณภาพ โดยพัฒนาผู้เรียนให้เป็นบุคคลที่มีความรู้คู่คุณธรรม มีความสามารถตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและนำไปสู่การพัฒนาคุณภาพระดับสากล
จุดมุ่งหมายหลักของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) มีดังต่อไปนี้
  • ผู้เรียนทุกคนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและพัฒนาสู่ความเป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • ประชากรวัยเรียนทุกคนได้รับโอกาสในการศึกษาขั้นพื้นฐาน 15 ปี อย่างทั่วถึง และได้เรียนรู้ตลอดชีวิตอย่างมีคุณภาพ
  • ครูและบุคลากรทางการศึกษาสามารถปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพเต็มตามศักยภาพ
  • สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษามีความเข้มแข็ง เป็นกลไกขับเคลื่อนการศึกษาขั้นพื้นฐาน สู่ความเป็นหนึ่งในสองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
  • การศึกษาในเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดเขตชายแดนภาคใต้ได้รับการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรมีความปลอดภัยมั่นคง


ขอบคุณสาระดีๆ จาก อักษรย่อ.com
ขอบคุณภาพประกอบจาก Smart Photo Print

ว่าด้วยเรื่อง ปพ.

ปพ. หมายถึง เอกสารการประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เป็นเอกสารประจำชั้นเรียนและโรงเรียน แบ่งเป็นประเภทและการใช้งานได้ดังนี้ 

  • ปพ.1 คือ ระเบียนแสดงผลการเรียน เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนต้องจัดหาจัดซื้อไว้ เอกสารชุดนี้มีไว้ใช้สำหรับแจกให้นักเรียนเมื่อนักเรียนเรียนจบแต่ละช่วงชั้น/หรือเมื่อนักเรียนย้ายโรงเรียนไปยังโรงเรียนอื่น 
  • ปพ.2 คือ ประกาศนียบัตร แจกให้เมื่อนักเรียนจบช่วงชั้นเท่านั้น
  • ปพ.3 คือ แบบรายงานผู้สำเร็จการศึกษา ให้โรงเรียนส่งสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาด้วย เมื่อเขตพื้นที่การศึกษาได้รับจากโรงเรียนแล้ว เขตพื้นที่การศึกษาจึงจะส่งไปเก็บไว้ที่กระทรวงฯ
  • ปพ.4 คือ แบบรายงานผลการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ออกให้เมื่อนักเรียนจบหลักสูตรแต่ละช่วงชั้น
  • ปพ.5 คือ แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน หรือ เอกสารที่ครูทุกคนต้องทำในทุกรายวิชาที่ตัวเองสอน ทุกห้อง ส่งเทอมละ 1 ครั้ง เมื่อส่งเกรดนักเรียนที่ฝ่ายวิชาการ หากเป็นครูระดับประถมศึกษาจะต้องส่งทุกสิ้นปีการศึกษา 
  • ปพ.6 คือ แบบรายงานผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนรายบุคล ครูประจำชั้นจะต้องออกให้นักเรียนในที่ปรึกษาของตนเองเทอมละ 1 ครั้ง หรือปีละ 1 ครั้ง ครูประจำชั้นเขียนและลงลายเซ็น แล้วเสนอให้ ผอ.ลงนาม และให้นักเรียน นำไปให้ผู้ปกครองเพื่อรับทราบผลการเรียน
  • ปพ.7 คือ ใบรับรองผลการศึกษา โรงเรียนจะออกให้เมื่อนักเรียนมีความต้องการใช้ เวลาใดก็ได้ กล่าวคือเมื่อนักเรียนต้องการรับรองว่าตนเองเป็นนักเรียนโรงเรียนนั้นจริงๆ หรือใช้เป็นหลักฐานในการศึกษาต่อก่อนได้รับ ปพ.1
  • ปพ.8 คือ เอกสารระเบียนสะสม หรือเอกสารที่มีข้อมูลทุกอย่างเกี่ยวกับการเรียน สุขภาพของนักเรียนทั้งหมด ใช้เมื่อนักเรียนย้ายโรงเรียนหรือเมื่อจบปีการศึกษา เพื่อให้ผู้ปกครองทราบข้อมูลเกี่ยวกับนักเรียนทั้งหมด
  • ปพ.9 คือ สมุดบันทึกผลการเรียนรู้ หรือสมุดที่ใช้ประกอบการย้ายโรงเรียน เพื่อแสดงถึงความก้าวหน้าของการเรียน ว่านักเรียนคนนี้เรียนแต่ละวิชาไปแล้วทั้งหมดกี่หน่วยการเรียน ใช้เมื่อนักเรียนย้ายโรงเรียน 


ขอบคุณสาระดีๆ จาก สรยุทธ วาระกูล
ขอบคุณภาพประกอบจาก Smart Photo Print

"เกียรติบัตร" "วุฒิบัตร" "ปริญญาบัตร" และ"ประกาศนียบัตร" แตกต่างกันอย่างไร

หลายคนคงสงสัยว่า "เกียรติบัตร" "วุฒิบัตร" "ปริญญาบัตร" และ"ประกาศนียบัตร" แตกต่างกันอย่างไร

  • เกียรติบัตรเป็นคำเรียกบัตรที่มอบให้แก่บุคคลเพื่อแสดงว่าเป็นผู้ที่สมควรได้รับเกียรติ ได้รับการยกย่องอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น เกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมที่มีคุณประโยชน์ เกียรติบัตรที่มอบให้แก่บุคคลที่ได้ประกอบกิจกรรมที่น่าสรรเสริญ เช่น เป็นบุคคลดีเด่นในด้านใดด้านหนึ่งที่น่ายกย่อง เป็นต้น นอกจากนี้ ผู้ที่เข้าร่วมประกวดหรือแข่งขันความสามารถในด้านใดด้านหนึ่ง หรือการปฏิบัติกิจกรรมอย่างใดอย่างหนึ่งก็อาจได้รับเกียรติบัตรรับรองการเข้าร่วมกิจกรรมนั้นๆด้วย
  • วุฒิบัตรเป็นบัตรที่มอบให้แก่บุคคลเพื่อรับรองว่าเป็นผู้ที่มีวุฒิ คือความเจริญในด้านความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงาน หรือความสามารถอื่นๆที่ได้จากการอบรม ผู้มอบวุฒิบัตรเป็นผู้รับผิดชอบจัดการอบรม เช่น การอบรมวิชาการต่างๆให้แก่ครูอาจารย์ผู้สอนวิชานั้นๆ หรือแก่บุคคลทั่วไป การอบรมการทำอาหาร การอบรมศิลปะการจัดดอกไม้ เป็นต้น
  • ปริญญาบัตรเป็นเอกสารรับรองวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษาในระดับปริญญา 
  • ประกาศนียบัตรเป็นเอกสารที่แสดงวิทยฐานะของผู้สำเร็จการศึกษา ที่จัดเป็นหลักสูตร ใช้สำหรับการศึกษาระดับต่ำกว่าระดับปริญญา



ขอบคุณสาระดีๆ จาก นิตยสารสกุลไทย
ขอบคุณภาพประกอบจาก Smart Photo Print



ทำไมนักเรียนต้องมีสมุดพก

หลายคนคงสงสัยว่าทำไมนักเรียนต้องมีสมุดรายงานประจำตัวนักเรียน หรือที่เรียกกันว่า "สมุดพก" เหตุก็เพราะว่าการศึกษาในประเทศไทยมีการปรับเปลี่ยนกระบวนการเรียนรู้ โดยยึดหลักผู้เรียนเป็นสำคัญ ดังนั้นจึงต้องมีการเปลี่ยนวิธีการประเมินผลให้ครอบคลุม และเป็นระบบ สามารถทราบพัฒนาการและความก้าวหน้าของผู้เรียนแต่ละคนในทุกๆ ด้าน และนำผลการประเมินแจ้งให้กับผู้เรียนและผู้ปกครองรับทราบ เพื่อช่วยกันพัฒนาศักยภาพของผู้เรียนให้เต็มที่ ดังนั้นการจัดทำสมุดรายงานประจำตัวนักเรียนเพื่อบันทึกข้อมูลเกี่ยวกับพัฒนาการความก้าวหน้าของผู้เรียนจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น



ขอบคุณภาพประกอบจาก Smart Photo Print

การจดบันทึกมีประโยชน์อย่างไร

การจดบันทึกมีประโยชน์อย่างมากกับบุคคลทุกเพศ ทุกวัย เพราะการจดบันทึกในขณะที่อ่าน หรือฟัง จะช่วยให้เกิดความสนใจ เกิดการเรียบเรียงข้อมูลทางความคิด และช่วยให้เราจำได้ดีมากขึ้น  เคยสังเกตุหรือไม่ว่าระหว่างที่เราฟังหรืออ่านโดยไม่มีการจดบันทึกเลย กับการที่เราฟังหรืออ่านและจดบันทึกไปด้วยนั้น แบบไหนที่ทำให้เราจดจำข้อมูลเนื้อหานั้นๆ ได้มากกว่ากัน  แน่นอนว่าการที่เราจดบันทึกไปด้วยจะทำให้เราสามารถจดจำเนื้อหาได้มากกว่า ซึ่งการจดบันทึกนั้นไม่ได้หมายความว่าต้องจดทุกตัวอักษรที่เราอ่านหรือได้ยิน เพียงแต่จดเฉพาะสาระสำคัญเท่านั้น  เนื่องจากการจดบันทึกเป็นกิจกรรมของกล้ามเนื้อ ซึ่งก่อให้เกิดความทรงจำได้เป็นอย่างดี  รู้อย่างนี้แล้วก็อย่าลืมพกสมุดโน้ตไว้กับตัวกันด้วยนะจ้ะ เผื่อมีเรื่องอะไรที่อยากจะบันทึกจะได้ไม่พลาดจ้า

ขอบคุณสาระดีๆ จาก ระพีพรรณ ดอยฟ้ากว้าง ขอบคุณภาพประกอบจาก Smart Photo Print

แฟ้มสะสมผลงานมีประโยชน์อย่างไร

รู้หรือไม่? แฟ้มสะสมงานสามารถบ่งบอกตัวตนและความสามารถของเจ้าของผลงานได้เป็นอย่างดี  ทั้งนี้ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในการสอนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดี เพราะนักเรียนแต่ละคนจะมีแฟ้มสะสมงานเป็นของตนเอง มีการสร้างสรรค์ผลงานที่เป็นลักษณะเฉพาะของตนเอง ซึ่งครูจะทราบจุดเด่นและจุดด้อยของนักเรียนแต่ละคนจากแฟ้มสะสมงาน  ทั้งนี้ทั้งนั้นแฟ้มสะสมผลงานไม่ได้มีประโยชน์เฉพาะในวัยเรียนเท่านั้น แต่มีประโยชน์ในวัยทำงานด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะเวลาที่เราต้องการเขียนประวัติสมัครงาน ผลงานที่เราเก็บสะสมไว้ในแฟ้มสะสมผลงานของเราจะช่วยให้หน่วยงานนั้นๆ รู้จักตัวตนและความสามารถของเรามากขึ้น  ฉะนั้น มัวรีรออะไรเล่า รีบมาจัดทำแฟ้มสะสมผลงานของตัวเองกันดีกว่า เย้!




ขอบคุณภาพประกอบจาก Smart Photo Print

วันพฤหัสบดีที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

พิธีพระราชทานปริญญาบัตรครั้งแรกในประเทศไทยเกิดขึ้นในสมัยใด


          พิธีพระราชทานปริญญาบัตร มีขึ้นเป็นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยเสด็จพระราชดเนินไปพระราชทาน ปริญญาบัตร แก่บัณฑิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2473 และปฏิบัติสืบต่อกันมาจนถึงปัจจุบัน 
          ในครั้งนั้น ทางมหาวิทยาลัยกราบทูลเชิญ พระบรมวงศานุวงศ์ เรียนเชิญเสนาบดี และข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ตลอดจนส่งหนังสือเชิญ ผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ รวม 11 แห่ง อาทิ กรมยุทธศึกษาทหารบก กรมยุทธศึกษาทหารเรือ สภากาชาดสยาม วชิรพยาบาล มหามงกุฎราช วิทยาลัย ราชบัณฑิตยสภา และโรงเรียนกฎหมาย เป็นต้น มาร่วมพิธีด้วย 
          ในพิธีดังกล่าว มหาอมาตย์เอก พระวรวงศ์เธอ กรมหมื่นพิทยลาภพฤฒิยากร ทูลเกล้าฯ ถวายฉลองพระองค์ครุยบัณฑิตพิเศษแด่ พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระราชทานครุยกิตติมศักดิ์บัณฑิตชั้นโท (หรือมหาบัณฑิตใน ปัจจุบัน) ทางวิทยาศาสตร์แก่พระยาภะรตราชา ผู้บัญชาการจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยในขณะนั้น และบัณฑิตชั้นเอก (หรือดุษฎีบัณฑิตในปัจจุบัน) แก่ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เอ.จี.เอลลิส คณบดีคณะแพทยศาสตร์ในขณะนั้น แล้วพระราชทานปริญญาบัตร แก่เวชบัณฑิตจนวน 34 คน ใน จนวนนั้น 18 คนมาจากปีการศึกษา 2471 และ 16 คนจากปีการศึกษา 2472 เสร็จแล้ว พระราชทานพระบรมราโชวาท และเสด็จพระราชดเนินกลับ 



ลักษณะปกประกาศนียบัตรที่นิยมใช้ในปัจจุบันจะมีลักษณะเป็นปกผ้าไหมปั้มฟอยล์สีทองหรือสีเงิน รูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนาด A4 หรือ A5  ปัจจุบันนี้ปกประกาศนียบัตรไม่เพียงแต่นิยมใช้ในระดับอุดมศึกษาเท่านั้น แต่ยังนิยมใช้ในในระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาอีกด้วย



ขอบคุณสาระดีๆ จาก วิกิพีเดีย
ขอบคุณภาพประกอบจาก Smart Photo Print